Home Product

รวบรวมบทวิเคราะห์ทองจากบลจ.ต่างๆประจำวันที่ 23 เมษายน 2555

MTS

วิเคราะห์ทางเทคนิคช่วงเช้า

Gold – โดยภาพรวม ราคาทองคายังอยู่ในทิศทาง sideway และดูจะเป็นลักษณะ sideway down โดยเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 1,635 – 1,650 เหรียญ

คำแนะนำกาลงทุนทองคำ

Daily

เก็งกาไรในภาวะการแกว่งตัวในกรอบดังกล่าว โดยให้ขายเมื่อราคาขึ้นไปด้านบน และซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมา

Weekly

ยังเป็นการรอความชัดเจนของทิศทางตลาดมากกว่าที่จะเข้าซื้อ ถือครองพอร์ท 30% ซื้อสะสมบ้างเล็กน้อยจากการขายทากาไรที่ผ่านมา

Monthly

เช่นเดียวกันกับนักลงทุนรายสัปดาห

Gold Recap

Morning Recap

ราคาทองคาต่างประเทศเปิดที่ระดับ 1,641 เหรียญ/ออนซ์ Gold Futures J12 เปิดที่ 24,090 บาท สมาคมค้าทองแท่งเปิดที่ 24,000 บาท

Night Recap

ราคาทองคาเปิดตลาดช่วงค่าในประเทศไทยที่ระดับ 1,645 เหรียญ โดยราคาเคลื่อนตัวอยู่ระหว่าง 1,638 – 1,646 เหรียญ ก่อนกลับมาปิดตลาดที่ 1,641 เหรียญ ในเวลาประเทศไทย

ข่าวที่สำคัญ

-ราคาทองคายังคงไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวมากนักในช่วงค่าคืนวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลในช่วงที่รอมาตรการเพิ่มเติมทางด้านเศรษฐกิจในวงกว้าง รวมไปถึงบรรยากาศทางการเมือง

Credit Suisse กล่าวว่า หลังจากความผิดหวังในตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรกของจีนที่ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาให้เพิ่มความคาดหวังที่จะให้มีนโยบายผ่อนคลายทางการเงินในจีน สิ่งนี้เองได้กระตุ้นให้เกิดการเข้าซื้อในกลุ่มโลหะ แม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเชื่อมั่นว่าจีนจะออกมาตรการดังกล่าว

-เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านสกุลเงินยูโรได้รับแรงสนับสนุนจากตัวเลข German Ifo business climate ซึ่งออกมาอยู่ที่ 109.9 มากกว่าการคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 109.6 ทาให้สกุลเงินยูโรกลับมายืนอยู่เหนือระดับ 1.32 ดอลลาร์/ยูโรได้อีกครั้ง

ในตลาดเอเชีย เทรดเดอร์ของอินเดียยังคงมีการจากัดการซื้อทองคาเพื่อรอให้ถึงเทศกาลซื้อทองคา Akshaya Tritiya ที่จะเริ่มต้นในวันที่ 24 เมษายนนี้ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นช่วงเวลที่ดีที่จะซื้อทองคาเพื่อให้มีความโชคดี

-ยังคงไม่มีการ clear price sentiment เกิดขึ้น เนื่องจากราคาทองคามีลักษณะของ straddle หรือยังคงมีการสนับสนุนราคา 1,650 เหรียญทั้งขาขึ้นและขาลง ส่งผลให้ในสัปดาห์ที่ผ่านมานักลงทุนลงทุนทั้งฝั่ง long และฝั่ง short

โดย gross long positions ลดลง 0.58 ล้านออนซ์ และ gross short 0.88 ล้านออนซ์ ผลสรุปคือมีการเพิ่มขึ้น 0.3 ล้านออนซ์ใน net long position สู่ระดับ 18.318 ล้านออนซ์

Open Interest ลดลง 396 คู่สัญญา มาอยู่ที่ระดับ 626,687 คู่สัญญา ซึ่งเป็นระดับต่าสุดในรอบปี

-การประชุมกลุ่ม G-20 เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาได้สิ้นสุดลง โดยประเทศเศรษฐกิจชั้นนาระดับโลกได้มีข้อตกลงร่วมกันให้เพิ่มขนาดของกองทุนไอเอ็มเอฟมากกว่าสองเท่าเป็นจานวนกว่า 4.3 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อปกป้องเศรษฐกิจระดับโลกจากปัญหาวิกฤตหนี้ยูโรโซน ในขณะเดียวกัน ไอเอ็มเอฟก็ได้กดดันยุโรปในการประชุมเพื่อให้ปฏิรูปเศรษฐกิจให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งมีความต้องการแก้ไขปัญหาเป็นครั้งสุดท้ายหลังจากที่ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินครั้งใหม่

หน่วยงานกากับดูแลด้านอนุพันธ์ของสหรัฐอเมริกา หรือ CFTC ระบุว่า ผู้จัดการฝ่ายการเงินได้เพิ่มระดับ net long positions ในสัญญา Gold futures ของสหรัฐฯ และรวมไปถึงสัญญาออปชั่น (Options) ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 17 เมษายน แต่ตัดลดการเก็งกาไรในสถานะ net long ของ Silver

สาหรับทางด้านตลาดการเงิน สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงจากระดับต่าสุดในรอบ 2 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในเช้านี้ โดยเป็นการหยุดพักชั่วคราวหลังจากที่สกุลเงินยูโรสามารถขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่สกุลเงินปอนด์ยังคงตามติดเกาะไปกับตัวเลขยอดค้าปลีกของอังกฤษที่ออกมาดีขึ้น

HGF

- ทองแกว่งตัวแคบรอติดตามผลการประชุม FED

- สัปดาห์นี้คาดญี่ปุ่นประกาศผ่อนคลายนโยบายการเงิน

- คาดทองแกว่งตัวแคบระหว่าง 1,630-1,650 ดอลลาร์

ราคาทองและโลหะเงินแกว่งตัวอยู่ในกรอบแคบตลอดการซื้อขายของวันศุกร์ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยบวกหรือลบใหม่ๆที่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาโลหะทั้ง 2 ชนิด อย่างมีนัยสำคัญประกอบกับนักลงทุนบางส่วนต่างๆรอประเมินสถานการณ์ในสัปดาห์นี้ซึ่งจะมีการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ จึงทำให้การแกว่งตัวของราคาทองคำและโลหะเงินมีกรอบค่อนข้างจำกัดและคาดว่าจะต่อเนื่องมาจนถึงการซื้อขายช่วงต้นสัปดาห์นี้ โดยการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐจะมีขึ้นระหว่างวันอังคารและพุธที่ 24 และ 25 ซึ่งคาดว่าภายหลังการประชุมจบลงคงยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องการผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน แต่ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐในช่วงหลังๆนี้เริ่มสะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอตัวลง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ธนาคารกลางของสหรัฐให้ระบุถึงความพร้อมที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น และนอกจากประเด็นนี้แล้วการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่อาจมีผลต่อการเคลื่อนไหวชองราคาทอง ส่วนเรื่องการประมูลพันธบัตรรัฐบาลของประเทศในยุโรปก็จะยังเป็นประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจโดยเฉพาะกรณีของอิตาลีที่กำลังถูกจับตามองว่าอาจต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินเช่นเดียวกับกรีซ ส่วนประเด็นในเอเชียนั้น สัปดาห์นี้จะมีการการประกาศตัวเลขภาคการผลิตของจีน รวมทั้งการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันพฤหัสที่ 27 นี้ โดยตลาดประเมินว่าจะมีการประกาศผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม ซึ่งอาจส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและกดดันให้ราคาทองปรับฐานลงได้หากมาตรการที่ญี่ปุ่นประกาศใช้เพียงพอที่จะกดดันให้เงินเยนอ่อนค่าลง ส่วนการเคลื่อนไหวทางเทคนิคของราคาทองคำนั้นยังคงไม่ต่างจากช่วงปลายสัปดาห์ก่อนมากนัก โดยมีแนวรับและแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 1,630-1,635 และ 1,650-1,655 ดอลลาร์ ตามลำดับ หากราคาปรับฐานลงไปต่ำกว่าแนวรับคาดว่าจะมีแรงขายกลับออกมามากจนราคาปรับตัวลงสู่แนวรับบริเวณ 1,610-1,615 ดอลลาร์ ต่อไป ส่วนราคาโลหะเงินยังคงคาดว่าจะแกว่งตัวอยู่ระหว่าง 31.0-32.0 ดอลลาร์ ต่อไป

Gold Future (April)

คาดว่าราคาทองคำจะยังแกว่งตัวขึ้นลงในกรอบแคบ ดังนั้นหากราคาอ่อนตัวลงเข้าใกล้แนวรับบริเวณ 1,630-1,635 ดอลลาร์ ยังสามารถเลือกเก็งกำไรฝั่งซื้อได้ต่อไป โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 1,625ดอลลาร์ สัญญาเดือน J ใกล้หมดอายุ ราคาจึงแกว่งตัวเข้าใกล้ราคาทองคำแท่งในประเทศ และควรเลือกเปลี่ยนไปมีสถานะในสัญญาเดือนไกลที่มีอายุคงเหลือนานกว่า

Silver Future (April)

คาดว่าราคาของโลหะเงินจะยังแกว่งตัวอยู่ระหว่าง 31.0-32.0 ดอลลาร์การเปิดสถานะซื้อหรือขายควรรอเปิดสถานะในช่วงที่ราคาเข้าใกล้แนวรับหรือแนวต้าน โดยในวันนี้คาดว่าราคาอาจปรับฐานลงต่อหลังจากช่วงค่ำของวันศุกร์ราคาดีดตัวขึ้นเข้าใกล้แนวต้านบริเวณ 31.9-32.0 ดอลลาร์ แล้วยังไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ แนวรับที่อาจมีการดีดตัวระยะสั้นเกิดขึ้นในระหว่างวันอยู่ที่บริเวณ 31.20-31.30 ดอลลาร์ ซึ่งสามารถรอเปิดสถานะซื้อเก็งกำไรได้ที่แนวรับบริเวณดังกล่าว โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 31.0 ดอลลาร์

CGF

Price Movement

ราคาทองคาในตลาด COMEX ปิดที่ 1,642.80 USDต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 1.40 USDต่ออออนซ์ โดยมีความเคลื่อนไหวระหว่าง 1,638.60 - 1,648.20 USDต่อออนซ์ ราคาทองคาเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง โดยมีปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของเงิน USD และการแข็งค่าของเงินยูโร โดย IMF สามารถเพิ่มขนาดเงินทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาหนี้ในยูโรโซนได้ 4.3 แสนล้านดอลล่าร์ แต่ประเด็นปัญหาของสเปนและอิตาลีสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนเพิ่มขึ้น สาหรับในช่วงเช้าวันนี้ราคาเคลื่อนไหวบริเวณ 1,641 USDต่อออนซ์ คาดว่าวันนี้มีแนวรับบริเวณ 1,630 และถัดไปบริเวณ 1,620 ส่วนแนวต้านในวันนี้คาดว่ามีที่บริเวณ 1,650 และถัดไปที่ 1,660 แนะนานักลงทุน Trading ในกรอบ 1,620 – 1,660 ส่วนในระยะสัปดาห์คาดว่ามีแนวต้านบริเวณ 1,688/1,700 และแนวรับบริเวณ 1,630 และถัดไป 1,612 กรอบความเคลื่อนไหวในระยะสัปดาห์คาดว่าอยู่ระหว่าง 1,612 – 1,700 USDต่อออนซ์

Technical  Analysis

ภาพทางเทคนิคยังเป็นแนวโน้มขาลงในระยะกลาง แต่เคลื่อนไหวในช่วงนี้ความยังเป็นลักษณะ side way รอการ break การปรับตัวลดลงต่ากว่าแนวรับบริเวณ 1,612 ซึ่งเป็น low ในครั้งก่อน จะทาให้แนวโน้มเป็น bearish มากขึ้น และอาจทา low ใหม่ที่บริเวณ 1,600 / 1,586 ส่วนการ break ขึ้น ผ่าน 1,688 มีโอกาสไปที่บริเวณ 1,740 ส่วนภาพกราฟในรายวันมีเส้นกดจาก MA 75 วัน บริเวณ 1,688 และเส้น MA 34 วันบริเวณ 1,660 ทาให้กรอบการขึ้นค่อนข้างจากัด คาดว่าวันนี้มีแนวต้านบริเวณ 1,650/1,660 และแนวรับบริเวณ 1,630/1,620 แนะนา นักลงทุนในระยะ 1 – 2 วัน Trading ในกรอบ 1,620 – 1,660

Recommendations

แนวโน้มระยะสั้น : อยู่ในกรอบ 1,612 – 1,680 Trading ในกรอบ 1,612 – 1,680

แนวโน้มระยะกลาง : อยู่ในกรอบ 1,570 – 1,800 แนะนา รอราคา rebound ขึ้นสู่แนวต้านบริเวณ 1,670/1,680 เพื่อเปิด short โดยมีเป้าหมายทากาไรบริเวณ 1,612/1,605

แนวโน้มระยะยาว : อยู่ในกรอบ 1,553 - 1920 แนะนา ทยอยเปิด Long เมื่อราคาอ่อนตัวบริเวณแนวรับ

Key Points in Precious Market

-ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคา ได้แก่ ค่าเงินUSD อ่อนค่าลง ( + ) ราคาน้ามันปรับตัว เพิ่มขึ้น เมื่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมนีที่ดีเกินคาด ( + ) IMF ยืนยันสามารถระดมทุนได้ 4.30 แสนล้านUSD เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตหนี้ยูโรโซน ( + ) ความกังวลในเรื่องปัญหาหนี้ของยุโรป เมื่อมีข่าวลือเกี่ยวกับฝรั่งเศสอาจมีการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ( - ) G20 กดดันให้ยุโรปเร่งแก้ปัญหาหนี้ ก่อนได้รับเงินช่วยเหลือ (+/-) การชุมนุมประท้วงของสหภาพแรงงาน ทั้งใน อิตาลี/สเปน ( - )

-ประเด็นที่ต้องติดตาม การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบสองในวันที่ 6 พ.ค.ซึ่งเป็นวันเดียวกับการเลือกตั้งในกรีซ หลังการเลือกตั้งรอบแรกในวันอาทิตย์ที่ 22 เม.ย. ความสามารถของสเปนในการจัดการฐานะการคลัง การประชุมนโยบายการเงินของสหรัฐในวันที่ 24 – 25 เม.ย.

-การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ อาทิ วันอังคาร ราคาบ้านเดือนก.พ. ยอดขายบ้านใหม่เดือนมี.ค. เฟด เริ่มการประชุมกาหนดอัตราดอกเบี้ยวันแรก วันพุธ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค. ตัวเลขสต็อกน้ามันรายสัปดาห์ เฟด ประกาศมติการประชุมกาหนดอัตราดอกเบี้ย (ต่อเนื่อง) วันพฤหัสบดี จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดทาสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนมี.ค. วันศุกร์ ต้นทุนการจ้างงานประจาไตรมาส 1/2012 ตัวเลขประมาณการครั้งแรกของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจาไตรมาส 1/2012

-SPDR ถือทองคาจานวนเท่าเดิม 1,286.17 ตัน