Home Product

รวบรวมบทวิเคราะห์ทองจากบลจ.ต่างๆประจำวันที่ 24 เมษายน 2555

รวบรวมบทวิเคราะห์ทองจากบลจ.ต่างๆประจำวันที่ 24 เมษายน 2555

MTS

วิเคราะห์ทางเทคนิคช่วงเช้า

Gold – ราคาทองคายังมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นตลาด COMEX โดยลงไปทาจุดต่าสุดที่ระดับ 1,623 เหรียญโดยประมาณ ก่อนที่จะดีดกลับขึ้นมาปิดที่ปลายตลาด COMEX ที่ระดับ 1,632 เหรียญ โดยที่ค่าเงินบาทก็กลับมาอ่อนค่าขึ้น โดยยืนอยู่เหนือระดับ 31 บาท/ดอลลาร์ ขึ้นมาพร้อมกับค่าเงินดอลลาร์จากเมื่อวาน ณ ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 31.02 บาท/ดอลลาร์ โดยภาพรวมราคาทองคายังเป็นแนวโน้มขาลง โดยที่เป็นลักษณะ sideway down มาโดยตลอด แนวรับสาคัญของทองคาอยู่ที่ 1,620 เหรียญ แนวต้านของทองคาจะอยู่ที่ระดับ 1,640 เหรียญ โดยถูกกดต่าลงมาเรื่อยๆ ตลาดคงรอดูถ้อยแถลงของเฟดในการประชุมพรุ่งนี้ตอนกลางคืน โดยที่ผลกระทบในภาพรวมยังเป็นลักษณะของค่าเงินยูโรที่มีการแกว่งตัวในทิศทางขาลงเช่นเดียวกัน จากความวุ่นวายของด้านระบบการเงินที่ส่งผลต่อระบบการเมืองในประเทศต่างๆ

สรุปได้ว่า โดยภาพรวมราคาทองคายังเป็นทิศทางแนวโน้มขาลง โดยยังมีทิศทางที่ถูกกดดันต่อเนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินยูโร และการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ คงต้องรอข่าวสาคัญในการแถลงของเฟดในวันพุธ โดยส่วนใหญ่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ดีขึ้นบ้างเล็กน้อยไม่มาก

คำแนะนำการลงทุน

Daily

 เก็งกาไรในภาวะการแกว่งตัวในทิศทางขาลงในกรอบ 1,620 - 1,640 เหรียญ

Weekly

ยังแนะนาให้ลดพอร์ทลงต่อเนื่องโดยตัดขายออกไป จากการที่ราคาไม่สามารรถยืนอยู่เหนือระดับ 1,640 เหรียญได้ ให้ลดพอร์ทลงเหลือ 10%

Monthly

ลดพอร์ทลงเหลือประมาณ 20% รอจังหวะเข้าช้อนซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวเท่านั้น

Gold Recap

Morning Recap

ราคาทองคาต่างประเทศเปิดที่ระดับ 1,634 เหรียญ/ออนซ์ Gold Futures J12 เปิดที่ 24,220 บาท สมาคมค้าทองแท่งเปิดที่ 24,110 บาท

Night Recap

ราคาทองคาเปิดตลาดช่วงค่าในประเทศไทยที่ระดับ 1,625 เหรียญ โดยราคาเคลื่อนตัวอยู่ระหว่าง 1,624 – 1,633 เหรียญ ก่อนกลับมาปิดตลาดที่ 1,631 เหรียญ ในเวลาประเทศไทย

ข่าวที่สำคัญ

-นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี ได้ประกาศเตือนในช่วงสุดสัปดาห์ถึงปัญหาในยูโรโซนว่าไม่สามารถแก้ไขโดยนโยบายทางการเงินเพียงอย่างเดียว และได้ต่อต้านความกดดันจากไอเอ็มเอฟและทางการคลังของสหรัฐฯ ให้มีมาตรการที่เข้มงวดกว่านี้เพื่อปกป้องวิกฤตหนี้ไม่ให้แผ่ขยายออกไป ความเห็นดังกล่าวได้ทาให้ตลาดทองคาเกิดความผันผวน ตามที่เทรดเดอร์มีความกังวลว่าอีซีบีอาจกลายเป็นผู้ไม่ได้เตรียมอัดฉีดสภาพคล่องใหม่ในระยะอันใกล

-นายกรัฐมนตรีดัชท์ นายมาร์ค รูท ยื่นเสนอการลาออกต่อรัฐบาลเมื่อวานนี้จากปัญหาวิกฤตการตัดลดงบประมาณ ทาให้บรรยากาศทางการเมืองในประเทศเกิดความว่างเปล่า ซึ่งเนเธอร์แลนด์ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งจากบทบัญญัติทางการคลังของสหภาพยุโรป และเกิดการตาหนิต่อกรีซว่าทาให้ประเทศอื่นเกิดปัญหาตามๆ กัน

-การประมูลขายพันธบัตรดัชท์และประเทศยูโรโซนอื่นๆ รวมไปถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมันปรับตัวลดลงเมื่อวานนี้ทาระดับต่าสุดใหม่ เนื่องจากปัญหาทางการเมืองในเนเธอร์แลนด์ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับปัญหาวิกฤตหนี้ยูโรโซน

-นักลงทุนผิดหวังจากตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดทางฝั่งยูโรโซนที่ส่งสัญญาณให้เห็นว่าธุรกิจของยูโรโซนได้เข้าสู่ภาวะตกต่า และชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะถดถอยไปจนถึงครึ่งปีหลังเป็นอย่างน้อย

-ตลาดจะจับตามองการประชุมเฟดในวันนี้เพื่อประเมินมุมมองของเฟดเกี่ยวกับมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ

CGF

Price Movement

ราคาทองคาในตลาด COMEX ปิดที่ 1,632.60 USDต่อออนซ์ ลดลง 10.20 USDต่ออออนซ์ โดยมีความเคลื่อนไหวระหว่าง 1,623.60 - 1,644.20 USDต่อออนซ์ ราคาทองคาปรับตัวลดลงจากความกังวลในเรื่องปัญหาการเมืองของฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งอาจทาให้มีการเปลี่ยนผู้นาใหม่ เมื่อนายซาร์โกซีอาจแพ้การเลือกตั้งรอบที่ 2 ในวันที่ 6 พ.ค. และการลาออกของนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ทาให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และคามั่นสัญญาที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ประสบปัญหาหนี้ต้องรอจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจของทางยูโรโซนแสดงถึงการตกต่าทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทาให้มีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ทาให้มีการขายสินทรัพย์เสี่ยงรวมถึงทองคา สาหรับในช่วงเช้าวันนี้ราคาเคลื่อนไหวบริเวณ 1,637 USDต่อออนซ์ คาดว่าวันนี้มีแนวรับบริเวณ 1,620 และถัดไปบริเวณ 1,612 ส่วนแนวต้านในวันนี้คาดว่ามีที่บริเวณ 1,645 และถัดไปที่ 1,660 แนะนานักลงทุนที่เล่นในระยะ 1 – 2 วัน Trading ในกรอบ 1,620 – 1,660 ส่วนในระยะสัปดาห์คาดว่ามีแนวต้านบริเวณ 1,688/1,700 และแนวรับบริเวณ 1,620 และถัดไป 1,612 กรอบความเคลื่อนไหวในระยะสัปดาห์คาดว่าอยู่ระหว่าง 1,612 – 1,700 USDต่อออนซ์

Technical  Analysis

ภาพทางเทคนิคยังเป็นแนวโน้มขาลงในระยะกลาง เคลื่อนไหวในช่วงนี้ความยังเป็นลักษณะ side way down รอการ break การปรับตัวลดลงต่ากว่าแนวรับบริเวณ 1,612 ซึ่งเป็น low ในครั้งก่อน จะทาให้แนวโน้มเป็น bearish มากขึ้น และอาจทา low ใหม่ที่บริเวณ 1,600 / 1,586 ส่วนการ break ขึ้น ผ่าน 1,680 มีโอกาสไปที่บริเวณ 1,740 ส่วนภาพกราฟในรายวันมีเส้นกดจาก MA 75 วัน บริเวณ 1,688 และเส้น MA 34 วันบริเวณ 1,660 ทาให้กรอบการขึ้นค่อนข้างจากัด คาดว่าวันนี้มีแนวต้านบริเวณ 1,645/1,660 ส่วนภาพ candle stick มีลักษณะคล้าย hammer คาดว่าวันนี้มีโอกาส rebound ได้ที่บริเวณ 1,645/1,650 ส่วนแนวรับคาดว่ามีที่บริเวณ 1,620/1,612 แนะนา นักลงทุนในระยะ 1 – 2 วัน Trading ในกรอบ 1,620 – 1,660

Recommendations

แนวโน้มระยะสั้น : อยู่ในกรอบ 1,612 – 1,688 Trading ในกรอบ 1,612 – 1,688

แนวโน้มระยะกลาง : อยู่ในกรอบ 1,570 – 1,800 แนะนา รอราคา rebound ขึ้นสู่แนวต้านบริเวณ 1,670/1,680 เพื่อเปิด short โดยมีเป้าหมายทากาไรบริเวณ 1,612/1,605

แนวโน้มระยะยาว : อยู่ในกรอบ 1,553 - 1920 แนะนา ทยอยเปิด Long เมื่อราคาอ่อนตัวบริเวณแนวรับ

Key Points in Precious Market

-ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคา ได้แก่ ค่าเงินUSD แข็งค่าขึ้น ( - ) ราคาน้ามันปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความกังวลในเรื่องอิหร่านและปัญหาการผลิตในทะเลเหนือ ( + ) ความกังวลในเรื่องปัญหาหนี้ของยุโรป เมื่อมีปัญหาการเมืองในฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ ( - ) ตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซนออกมาแย่อย่างต่อเนื่อง ( - ) ความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ( - ) การประชุมนโยบายการเงินของสหรัฐในวันที่ 24 – 25 เม.ย. มีการคาดการณ์ว่าอาจไม่มีมาตราการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม ( - )

-ประเด็นที่ต้องติดตาม การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบสองในวันที่ 6 พ.ค.ซึ่งเป็นวันเดียวกับการเลือกตั้งในกรีซ หลังการเลือกตั้งรอบแรกในวันอาทิตย์ที่ 22 เม.ย. ความสามารถของสเปนในการจัดการฐานะการคลัง การประชุมนโยบายการเงินของสหรัฐในวันที่ 24 – 25 เม.ย.

-การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ อาทิ วันอังคาร ราคาบ้านเดือนก.พ. ยอดขายบ้านใหม่เดือนมี.ค. เฟด เริ่มการประชุมกาหนดอัตราดอกเบี้ยวันแรก วันพุธ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค. ตัวเลขสต็อกน้ามันรายสัปดาห์ เฟด ประกาศมติการประชุมกาหนดอัตราดอกเบี้ย (ต่อเนื่อง) วันพฤหัสบดี จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดทาสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนมี.ค. วันศุกร์ ต้นทุนการจ้างงานประจาไตรมาส 1/2012 ตัวเลขประมาณการครั้งแรกของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจาไตรมาส 1/2012

-SPDR ขายทองคาออก 4.23 ตัน ถือทองคาจานวน 1,281.94 ตัน

HGF

- ทองร่วงหลังตลาดกังวลปัญหายุโรป

- SPDR ถือทองลดลง 4.23 ตัน

- คาดทองยังแกว่งตัวแคบรอผลประชุม FED

เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร และเป็นปัจจัยลบที่กดดันให้ราคาทองและโลหะเงินวานนี้ปรับฐานลง โดยมีแรงขายออกมามากในสินทรัพย์สกลุยูโรภายหลังรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของหลายประเทศในยุโรปอ่อนแอกว่าที่ตลาดประเมิน ประกอบกับปัญหาการปรับลดรายจ่ายทางการคลังของประเทศในยุโรปที่เริ่มส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลบางประเทศ จนนักลงทุนไม่มั่นใจต่อการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงและเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และกดดันให้ราคาทองคำปรับฐานลงจนหลุดแนวรับบริเวณ 1,630 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตามแม้ว่าราคาทองจะหลุดแนวรับในทางเทคนิค แต่ด้วยนักลงทุนส่วนใหญ่รอติดตามผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐที่จะเริ่มขึ้นในคืนวันนี้ และจะทราบผลการประชุมในคืนวันพุธต่อเนื่องเช้าวันพฤหัส จึงทำให้แรงขายมีกลับออกมาไม่มากแม้ว่าราคาทองจะหลุดแนวรับในทางเทคนิคก็ตาม โดยคาดว่าการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในวันนี้จะยังแกว่งตัวขึ้นลงในกรอบแคบลักษณะเดียวกับเมื่อวานโดยคำแถลงการณ์หลังการปะชุมของธนาคารกลางสหรัฐยังเป็นประเด็นหลักที่นักลงทุนให้ความสนใจ หากในคำแถลงไม่ได้ระบุถึงการออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม หรือไม่ได้แสดงความกังวลเรื่องเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นในอัตราที่ลดลง ก็จะเป็นปัจจัยลบที่กลับมากดดันให้ทองคำปรับฐานลงต่อไป ส่วนภาพการเคลื่อนไหวของราคาทองคำหลังจากปรับตัวลงทำจุดต่ำสุดใหม่ในระหว่างวัน ก่อนที่จะเริ่มดีดตัวกลับลดช่วงการติดลบลง จนทำให้ภาพการเคลื่อนไหวในระยะสั้นอาจมีการดีดตัวขึ้นได้ต่อ และหากสามารถผ่านแนวต้านระยะสั้นบริเวณ 1,643-1,645ดอลลาร์ ขึ้นไปได้ ก็จะเกิดเป็นสัญญาณซื้อเก็งกำไรระยะสั้น โดยคาดว่าราคาจะดีดตัวขึ้นสู่แนวต้านบริเวณ 1,655-1,660 ดอลลาร์ ต่อไป ส่วนแนวรับของวันอยู่ที่บริเวณจุดต่ำสุดของวานนี้ที่ 1,620-1,625 ดอลลาร์ และยังต้องระวังแรงขายที่จะมีกลับออกมาในช่วงที่ราคาไม่สามารถยืนเหนือแนวรับดังกล่าวได้ ส่วนราคาโลหะเงินซึ่งวานนี้ปรับฐานลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่าแนวรับบริเวณ 31.0 ดอลลาร์ ภาพการเคลื่อนไหวของราคาจึงมีแนวโน้มที่จะปรับฐานลงต่อ หากราคาดีดตัวขึ้นในระหว่างวัน คาดว่าจะมีแรงขายกลับออกมาจากแนวต้านบริเวณ 31.0-31.20 ดอลลาร์ และคาดว่าราคาจะปรับฐานลงสู่แนวรับบริเวณ 30.50 และ 30.0 ดอลลาร์ต่อไป

Gold Future (April)

ราคาทองปรับฐานลงสู่จุดปิดสถานะตัดขาดทุนบริเวณ 1,625 ดอลลาร์ ก่อนที่จะเริ่มดีดกลับ โดยคาดว่าวันนี้ราคาจะยังแกว่งตัวแคบในลักษณะเดียวกับเมื่อวานในระหว่างวันหากราคาดีดตัวขึ้นเข้าใกล้แนวต้านบริเวณ 1,645 ดอลลาร์ ควรทยอยปิดสถานะซื้อลดความเสี่ยง หรืออาจเลือกเก็งกำไรฝั่งขายจากแนวต้านดังกล่าว โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนฝั่งขายอยู่ที่บริเวณ 1,650-1,655 ดอลลาร์ ส่วนกรณีที่ราคาปรับตัวลงไปเคลื่อนไหวต่ำกว่าแนวรับบริเวณ 1,625 ดอลลาร์ยังคงเป็นจุดปิดสถานะซื้อ และคาดว่าจะมีแรงขายออกมามาก จนทำให้ราคาปรับฐานลงสู่แนวรับบริเวณ 1,610-1,615 ดอลลาร์ ต่อไป

Silver Future (April)

ราคาโลหะเงินปรับฐานลงหลุดแนวรับที่บริเวณ 31.20-31.30 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นจุดเปิดสถานะซื้อเก็งกำไรระยะสั้น ก่อนที่จะมีแรงขายออกมามากจนทำให้ราคาไม่สามารถยืนเหนือจุดปิดสถานะตัดขาดทุนฝั่งซื้อที่บริเวณ 31.0 ดอลลาร์ ทำให้ภาพการเคลื่อนไหวของราคาโลหะเงินยังมีแนวโน้มที่จะปรับฐานลงต่อ ในระหว่างวันหากราคาดีดตัวขึ้นเข้าใกล้แนวต้านบริเวณ 31.0-31.10 ดอลลาร์ คาดว่าจะมีแรงขายกลับออกมามาก จึงสามารถรอเปิดสถานะขายที่แนวต้านบริเวณดังกล่าว โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 31.30-31.40 ดอลลาร์