Home Product

รวบรวมบทวิเคราะห์ทองจากบลจ.ต่างๆประจำวันที่ 4 พฤษภาคม 2555

รวบรวมบทวิเคราะห์ทองจากบลจ.ต่างๆประจำวันที่ 4 พฤษภาคม 2555

MTS

วิเคราะห์ทางเทคนิคช่วงเช้า

Gold – ราคาทองคาเคลื่อนไหวในทิศทาง sideway down โดยเมื่อวานยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องท่ามกลางการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ทั้งที่ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการคนว่างงานออกมาดีขึ้น โดยปรับตัวลดลงถึง 27,000 ตาแหน่ง แต่ว่าในส่วนของ Non-Manufacturing PMI ออกมาน้อยกว่าที่คาด คือออกมา 53.5 น้อยกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ 55.5 เงินดอลลาร์เองกลับมาแข็งค่าขึ้นกดดันทาให้มีแรงเทขายเข้ามาในตลาดทองคาอย่างต่อเนื่อง ทองคาปรับตัวลดลงไปทาจุดต่าสุดที่ระดับ 1,631 เหรียญ ก่อนจะดีดขึ้นมาปิดตลาด COMEX ที่ระดับ 1,634.8 เหรียญ วิเคราะห์ได้ว่าโดยภาพรวมราคาทองคายังเป็นแนวโน้มขาลง โดยที่มีการเคลื่อนไหว ณ ขณะนี้เป็นทิศทาง sideway โดยกาลังทดสอบแนวรับด้านล่างที่ระดับ 1,630 เหรียญ ถ้าราคาหลุดระดับ 1,630 เหรียญไปคงไม่ดีนัก อย่างไรก็ดีตลาดกาลังจับตารอตัวเลข Non-Farm Employment Change ที่จะออกมาคืนนี้ ซึ่งคาดว่าจะออกมาเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 173,000 ตาแหน่ง จากเดิม 120,000 ตาแหน่ง ซึ่งจะเป็นตัวที่กาหนดทิศทางของราคาทองคาต่อไป คาดว่าราคาทองคาในวันนี้จะเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบ 1,630 – 1,645 เหรียญก่อน

สรุปได้ว่า ราคาทองคายังคงถูกกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ท่ามกลางความไม่แน่นอนของตัวเลขเศรษฐกิจที่ชัดเจน แนะนาให้ทากาไรในรอบสั้นๆ ยังไม่ช้อนซื้อมากนัก

คำแนะนำการลงทุน

Daily

เก็งกาไรในภาวะการแกว่งตัวในกรอบ 1,630 – 1,645 เหรียญ โดยแนะนาให้เข้าช้อนซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว และขายเมื่อราคาขึ้นมาบริเวณ 1,645 เหรียญ

Weekly

รอความชัดเจนของทิศทางในคืนนี้ก่อน

Monthly

เข้าช้อนซื้อเพิ่มเมื่อคืน ถือครองพอร์ท 35% – 40% รอความชัดเจนของทิศทางในคืนนี้ ถ้าคืนนี้ราคาออกมาหลุดระดับ 1,625 เหรียญ ซึ่งเป็น low เดิม ขอให้นักลงทุนมี stop loss บริเวณ 1,623 เหรียญ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดกับตัวเลข Non-Farm Employment Change ในคืนนี้

Gold Recap

Morning Recap

ราคาทองคาต่างประเทศเปิดที่ระดับ 1,650 เหรียญ/ออนซ์ Gold Futures M12 เปิดที่ 24,460 บาท สมาคมค้าทองแท่งเปิดที่ 24,050 บาท

Night Recap

ราคาทองคาเปิดตลาดช่วงค่าในประเทศไทยที่ระดับ 1,645 เหรียญ โดยราคาเคลื่อนตัวอยู่ระหว่าง 1,638 – 1,645 เหรียญ ก่อนกลับมาปิดตลาดที่ 1,638 เหรียญ ในเวลาประเทศไทย

ข่าวที่สำคัญ

-ราคาทองคาในช่วงสองเดือนที่ผ่านมามีการซื้อขายอยู่ในกรอบ 1,600 – 1,700 เหรียญ ตั้งแต่เริ่มต้นเดือนมีนาคม และไม่สามารถฝ่าระดับสูงกว่านี้ได้เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอ อันจะเห็นได้จาก การถือครองของ Gold ETF ลดลงมากกว่า 1 ล้านออนซ์จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ประมาณ 71 ล้านออนซ์ในช่วงกลางเดือนมีนาคม

-ในเรื่องความต้องการทองคาแท่งในช่วงเทศกาลแต่งงานของอินเดียยังคงมีปริมาณอยู่ในระดับต่า โดยเทรดเดอร์กล่าวว่า มีการหารือกันอย่างมากถึงอินเดียในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเขาคิดว่าความต้องการทองคาแท่งยังไม่ถูกทาลายไปทั้งหมด และมีความคาดหวังว่าจะกลับมาอีกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า

-ตลาดมีจับตาดูการรายงานตัวเลข Non-farm payroll ที่จะประกาศในวันนี้เวลา 19.30 น. ซึ่งตลาดคาดหวังว่าตัวเลขดังกล่าวจะปรับตัวลดลงในสัปดาห์นี้ ด้วย Dealers ณ ขณะนี้มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจได้เพิ่มการจ้างงาน 125,000 – 150,000 ตาแหน่งในเดือนเมษายน ซึ่งต่ากว่าผลสารวจจากรอยเตอร์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นมา 170,000 ตาแหน่ง

-เงินยูโรแข็งค่าขึ้นหลังจากที่นายดรากีออกแถลงการณ์ภายหลังการประชุมว่า อีซีบียังคงคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตลอดระยะเวลาที่เหลือของปีนี้ โดยมีอุปสงค์จากต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ยต่าในยูโรโซน และมาตรการทางนโยบายเป็นปัจจัยขับเคลื่อน แม้แนวโน้มเศรษฐกิจยังเผชิญความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้ยุโรปก็ตาม

-นายอับดุลลาห์ อัล-บาดรี เลขาธิการกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ามัน (โอเปค) กล่าวว่า โอเปคไม่ได้พอใจกับราคาน้ามันที่ระดับปัจจุบัน และพยายามที่จะดึงราคาลงด้วยการผลิตน้ามันมากกว่าเป้าหมายอย่างเป็นทางการ โดยระบุว่า ระดับราคาที่เหมาะสมอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ คากล่าวของเขากดราคาน้ามันลง โดยเมื่อคืนนี้น้ามันดิบเบรนท์ร่วงลงแตะระดับต่าสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนก.พ.ที่ 116.10 ดอลลาร์ ด้านสานักงานพลังงานสากล (IEA) เปิดเผยว่า การส่งออกน้ามันของอิหร่านลดลง 200,00-300,000 บาร์เรล/วัน จากปี 2554

CGF

Price Movement

 

ราคาทองคาในตลาด COMEX ปิดที่ 1,634.80 USDต่อออนซ์ ลดลง 19.20 USDต่ออออนซ์ โดยมีความเคลื่อนไหวระหว่าง 1,631.30 - 1,654.30 USDต่อออนซ์ ราคาทองคาปรับตัวลดลง หลังจากการประกาศตัวเลขดัชนี ISM ภาคบริการลดลงมาที่ 53.5 ใน เดือนเม.ย.จาก 56.0 ในเดือนก่อน ราคาน้ามันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆร่วงลงแรง ส่วนตัวเลขการขอรับสวัสดิการการว่างงานราย สัปดาห์ลดลงมากกว่าคาด 27,000 รายมาที่ระดับ 365,000 ราย ทาให้ค่าเงิน USD แข็งค่าขึ้น กดดันราคาทองคา นอกจากนี้การ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมของธนาคารกลางยุโรป และมีการประเมินภาวะเศรษฐกิจของยูโรโซนในเชิงบวกมากขึ้น แต่ เปิดโอกาสสาหรับการผ่อนคลายนโยบายการเงินลงอีก มีผลให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง สาหรับในช่วงเช้าวันนี้ราคาเคลื่อนไหวบริเวณ 1,635 USDต่อออนซ์ คาดว่าวันนี้มีแนวรับบริเวณ 1,620 และถัดไปบริเวณ 1,612 ส่วนแนวต้านในวันนี้คาดว่ามีที่บริเวณ 1,650 และ ถัดไปที่ 1,660 แนะนานักลงทุนที่เล่นในระยะ 1 – 2 วัน Trading ในกรอบ 1,612 – 1,660 ส่วนในระยะสัปดาห์คาดว่ามีแนวต้านบริเวณ 1,660/1,670 และแนวรับบริเวณ 1,620 และถัดไป 1,612 กรอบความเคลื่อนไหวในระยะสัปดาห์คาดว่าอยู่ระหว่าง 1,612 – 1,670 USDต่อออนซ์

Technical Analysis

ภาพทางเทคนิคกลับมาเป็น bearish มากขึ้น เมื่อไม่สามารถยืนเหนือ 1,640 ได้ ทาให้ภาพแนวโน้มขาลงในระยะกลางยังอยู่ต่อไป สัญญาณทางเทคนิคกลับมาเป็น ขาย ในวันนี้ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลงที่บริเวณแนวรับ 1,625/1,620 และแนวรับถัดไปบริเวณ 1,612 ส่วนแนวต้านคาดว่ามีที่บริเวณ 1,650/1,660 ถ้าราคาลดลงต่ากว่า 1,612 อาจทา low ใหม่บริเวณ 1,600/1,580 โดยภาพการแกว่งตัวอยู่ในแนวโน้มขาลงในระยะกลางที่ทาจุดสูงสุดต่าลงเรื่อยๆ ส่วนในระยะสัปดาห์คาดว่ามีแนวต้าน บริเวณ 1,660/1,670 และแนวรับบริเวณ 1,620 และถัดไป 1,612

Recommendations

แนวโน้มระยะสั้น : อยู่ในกรอบ 1,620 – 1,670 Trading ในกรอบ 1,620 – 1,670

แนวโน้มระยะกลาง : อยู่ในกรอบ 1,570 – 1,800 แนะนา รอการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มเพื่อ Follow buy เมื่อยืนเหนือ 1,670 โดยมีเป้าหมายทากาไรบริเวณ 1,800

แนวโน้มระยะยาว : อยู่ในกรอบ 1,553 - 1920 แนะนา ทยอยเปิด Long เมื่อราคาอ่อนตัว บริเวณแนวรับ

Key Points in Precious Market

-ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคา ได้แก่ ค่าเงินUSD แข็งค่าจากการคาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะออกมาดี ( - ) ราคาน้ามันอ่อนตัวลงแรง ( - ) ความกังวลในเรื่องหนี้สินของยุโรปเมื่อตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซนออกมาแย่อย่างต่อเนื่อง ( - ) ดัชนี ISM ภาคบริการของสหรัฐแย่กว่าคาด ( - )

-ประเด็นที่ต้องติดตาม การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบสองในวันที่ 6 พ.ค.ซึ่งเป็นวันเดียวกับการเลือกตั้งในกรีซ การเจรจาระหว่าง P5+1 และอิหร่าน (23 พ.ค.) ความสามารถของสเปนในการจัดการฐานะการคลัง

-การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ วันศุกร์ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.

-SPDR ถือทองคาจานวน 1,274.09 ตัน

HGF

- ทองร่วงต่อผิดหวังตัวเลขภาคบริการที่ออกมาแย่กว่าคาด

- ECB ตรึงดอกเบี้ยตามคาดแต่ยังมีโอกาสออกมาตรการเพิ่มเติม

- คืนนี้รอติดตามตัวเลขจ้างงานสหรัฐ/TFEX ปิดทำการวันจันทร์

ราคาทองคำปรับตัวลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 โดยมีแรงกดดันจากรายงานตัวเลขในภาคบริการของสหรัฐเดือนเมษายนที่ออกมาแย่กว่าที่ตลาดประเมิน ประกอบกับนักลงทุนต่างกังวลว่ารายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่จะรายงานออกมาในช่วงค่ำวันนี้อาจออกมาแย่กว่าที่ตลาดประเมิน จึงทำให้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงต่างปรับตัวลง และกดดันการเคลื่อนไหวของราคาทองผ่านการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ส่วนผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรปวานนี้มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.0% ตามที่ตลาดประเมิน และยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการอื่นใดเพิ่มเติม จึงมีผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดการเงินโดยรวมไม่มาก ประเด็นหลักที่ต้องรอติดตามคงอยู่ที่รายงานตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐในช่วงค่ำวันนี้ โดยผลสำรวจมีการคาดการณ์ว่าเดือนเมษายนจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นราว 170,000 ตำแหน่ง หากรายงานออกมาต่ำกว่าระดับดังกล่าวก็จะเป็นปัจจัยลบกดดันให้ราคาทองปรับตัวลงต่อ แต่ด้วยนักลงทุนในตลาดเริ่มประเมินว่ารายงานที่ออกมาอาจมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นราว 125,000-130,000 ตำแหน่ง และราคาทองได้อ่อนตัวลงตอบรับไปแล้วในระดับหนึ่ง ดังนั้นหากตัวเลขออกมาแย่กว่าผลสำรวจ คาดว่าราคาอาจปรับตัวลงไม่มาก และตัวเลขที่ต่ำกว่าคาดก็จะสนับสนุนมุมมองของนักลงทุนเกี่ยวกับโอกาสที่มีมากขึ้นว่าจะมีการออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินจากธนาคารกลางของสหรัฐ ดังนั้นหากราคาปรับตัวลงแรงก็คงจะมีแรงซื้อเก็งกำไรกลับเข้ามา แนวรับในระหว่างวันยังคงอยู่ที่บริเวณ 1,625-1,630 และ1,620 ดอลลาร์ ตามลำดับ หากไม่สามารถยืนเหนือแนวรับหลัง ภาพเทคนิคของราคาทองก็จะมีสัญญาณขายยืนยันทิศทางขาลงของราคาทองต่อไป โดยคาดว่าจะมีแรงขายกลับออกมามากจนราคาอ่อนตัวลงไปเคลื่อนไหวที่บริเวณ 1,610-1,615 และ 1,600 ดอลลาร์ ส่วนการดีดตัวขึ้นในระหว่างวันคาดว่าราคาคงยังจะไม่สามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 1,645-1,650 ดอลลาร์ ขึ้นไปได้ ส่วนราคาโลหะเงินหากวันนี้ราคาปรับตัวลงไปเคลื่อนไหวต่ำกว่าแนวรับบริเวณ 29.9-30.0ดอลลาร์ ก็จะเป็นสัญญาณขายยืนยันการเคลื่อนไหวในทิศทางขาลง และจะกดดันให้ราคาอ่อนตัวลงไปยังแนวรับบริเวณ 29.50 และ 29.0 ดอลลาร์ ต่อไป

Gold Future (June)

ราคาทองปรับตัวลงหลุดจุดปิดสถานะตัดขาดทุนฝั่งซื้อบริเวณ1,645 ดอลลาร์และลงมาทำจุดต่ำสุดในระหว่างวันที่แนวรับบริเวณ 1,625-1,630 ดอลลาร์ และยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงต่อ หากราคาดีดตัวขึ้นเข้าใกล้แนวต้านบริเวณ 1,645ดอลลาร์ หรืออ่อนตัวลงหลุดแนวรับที่ 1,625 ดอลลาร์ สามารถเปิดสถานะขายเก็งกำไรการปรับฐานที่คาดว่าจะยังเกิดขึ้นต่อไป โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 1,650 ดอลลาร์ และด้วยตลาดอนุพันธ์ของไทยจะปิดทำการในวันจันทร์หากไม่ต้องการรับความเสี่ยงควรปิดสถานะออกไปก่อน หรือเลือกซื้อสเปรดระหว่างสัญญาเพื่อป้องกันความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

Silver Future (June)

ราคาโลหะเงินอ่อนตัวลงเข้าใกล้จุดปิดสถานะตัดขาดทุนฝั่งซื้อที่บริเวณ 30.0-30.20 ดอลลาร์ และยังคงทรงตัวอยู่ที่บริเวณดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงช่วงเช้าวันนี้ หากราคาปรับตัวลงไปต่ำกว่าแนวรับนี้ควรปิดสถานะออกไปก่อนหรือเลือกเก็งกำไรฝั่งขาย โดยมีแนวรับถัดไปอยู่ที่บริเวณ 29.50ดอลลาร์